วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-Government

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน

ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด


B2C ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
B2B ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
G2G ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)
G2C ภาครัฐสู่ปร ะชาชน (Government to Citizen)
G2B ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
G2E ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)


ความหมายของการแบ่งกลุ่มตามผู้รับบริการของ e-Government

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) เพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchan) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น

ที่มา :http://www.dld.go.th/ict/article/egov/e-gev.html

ตัวอย่างเว็บไซด์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

http://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP
http://www.thaigov.net/services.php
http://www.doe.go.th/index1.html
http://www.sso.go.th/wpr/home.jsp
http://www.labour.go.th/index.jsp
http://www.dsd.go.th/

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

" แนวข้อสอบ "

1. ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร

ก. มีโอกาสซ้ำกัน การแก้ปัญหาจะใช้วิธีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเรียงรวมกันให้เป็นระบบ และเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันโดยจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูล

ข. มีโอกาสซ้ำกัน การแก้ปัญหาจะใช้ระบบการฐานข้อมูลหรือDBMSเพื่อำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูล

ค. ไม่มีโอกาสซ้ำกัน

ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข



2. ข้อใดคือแนวคิดการใช้ฐานข้อมูล

ก. Reduced Data Redundancy, Indexed File

ข. Index Sequential File Structure, Easier Access

ค. Reduced Data Redundancy, Shared Data

ง. Index Sequential File Structure, Improved Data Integrity



3. บริษัทแห่งหนึ่ง ได้แบ่งแผนกดังนี้ แผนกฝ่ายบัญชี, แผนกฝ่ายขาย โดยมีการจัดการข้อมูลกันเอง ซึ่งทำการจัดเก็บแยกต่างหากโดยไม่ได้ใช้ข้อมูลเดียวกัน และแฟ้มข้อมูลต่างๆก็มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย การจัดเก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลที่มีในบริษัทนี้ ก่อให้เกิดปัญหาใด

ก. เกิดความล้าช้าในการทำงาน

ข. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน

ค. เสียเวลาในการค้นหาข้อมูล

ง. เสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าปกติ